บันทึกการเดินทางไกร์เซ็นต์ไฮม์-ไมนซ์ (ตอนที่ห้า)

เช้าวันเสาร์ที่ 20 กันยายน 2551 นี่ก็ครบ 9 วันแล้วสิที่เราได้ซึมซับกลิ่นอายของความหนาวเย็นในกลุ่มรัฐฝั่งตะวันตกของเยอรมนีเมืองที่เราอยู่คือ Hessen ซึ่งเป็นหนึ่งในรัฐทั้งเจ็ดของแฟรงค์เฟิร์ท ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นทั้งศูนย์กลางแห่งความโรแมนติคและเขตอุตสาหกรรมของเมืองเบียร์ ด้วยสถานที่ตั้งที่เกือบจะกลางหว่างใจของเยอรมนี แฟรงค์เฟิร์ทจึงกลายเป็นจุดบรรจบของทางหลวงไปโดยปริยายหรือที่ภาษาเยอรมันเขียนว่า “เอาโตบาน” (Autobahn) เชื่อว่าหลายคนคงจะนึกถึงวงสตริงคอมโบ้รุ่นกลางๆในบ้านเราในช่วงหลายปีก่อนได้แน่เลย พอจะสันนิจฐานได้ว่าชื่อวงออโต้บาฮ์นน่าจะมาจากความหมายของถนนสายหลักในเยอรมนีนี่หละ……...ปลายฟ้า แค่หลับตาลงคงพบกัน โอบกอดดวงใจสายสัมพันธ์ ท่ามกลางความฝันของเรา ….ดาวน้อย (ดาวน้อย) โปรดลอยลงมาตรงหัวใจ เก็บเกี่ยวความคิดถึงฉันไป ให้เธอที่ปลายฟ้าไกล ...
เหตุการณ์ที่นับได้ว่าอยู่ในความทรงจำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชาวเยอรมนีในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สองก็คือ การทลายกำแพงเบอร์ลิน รุ่งเช้าวันที่ 9 พฤศจิกายน 1989 เสียงฆ้อนได้ก้องกระหึ่มตลอดสองฝั่งของกำแพงและในขณะเดียวกันเหตุการณ์แห่งประวัติศาสตร์ก็ได้ถูกถ่ายทอดไปสู่สายตาของชาวโลก เพราะนั่นมันคือเช้าที่กำแพงเบอร์ลินที่ขวางกั้นระหว่างเบอร์ลินตะวันตกและตะวันออกได้ถูกพังทลายลง ซึ่งสัญญลักษณ์ของการแบ่งแยกระหว่างตะวันตกและตะวันออกได้สิ้นสุดลงณ. วินาทีนั้น
แต่ว่าในระหว่างนั้นเองยังคงมีความแตกต่างและคละเคล้าด้วยความวิตกกังวลของฝั่งตะวันตก ท่ามกลางความปริติยินดีของฝั่งตะวันออก แต่ว่าชาวฝั่งตะวันตกก็รู้สึกกังวลอยู่ไม่น้อย ด้วยประวัติศาสตร์ที่ค่อนข้างซับซ้อนของเยอรมนีสุดที่จะพรรณาให้ท่านเข้าใจได้ ถ้าสนใจก็แนะนำให้ไปเสาะแสวงหาเองน่าจะได้ความจริงมากกว่านี้ (สมรักษ์ คำสิงห์บอกว่า “ไม่ได้โม้”) เอาหละพอได้รู้เรื่องแต่หนหลังของประเทศเยอรมนีบ้างแล้วพอหอมปากหอมคอ จากนั้นเราก็จะพาท่านไปเสาะหาความตื่นตาตื่นใจในเช้าวันใหม่ในไมนซ์ต่อจากค่ำวันวาน
Deutsche Bahnhof (DB) ดอยช์ บานโฮฟ หมายถึง สถานีรถไฟแห่งเยอรมนี ทุกสถานีจะมีป้ายDBแสดงไว้หน้าอาคาร


การเดินทางระหว่างเมืองต่อเมืองโดยรถไฟฟ้า นับได้ว่ามีความสะดวกสบายและด้วยกำหนดระยะเวลาที่มีความแน่นอนระหว่างสถาณีต่อสถาณี การโดยสารด้วยรถไฟฟ้าจึงเป็นอีกทางเลือกที่มีความสำคัญต่อการเดินทางของพลเมืองที่นี่ ในวันหนึ่งๆ การรถไฟเยอรมัน (Deutsche Bahnhof => DB) จะให้บริการไม่น้อยกว่า 30,000 ขบวน (บ้านเราไม่เกิน 600 ขบวนต่อวัน) มันไม่ใช่แค่การเคลื่อนไหวด้วยเส้นตรงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งเท่านั้น ทว่าล้วนแฝงไว้ด้วยความสนุกสนาน และความทรงจำอันแสนจะรื่นรมณ์ ณ. เส้นทางเรียบแม่น้ำไรน์อันอิ่มเอมไปด้วยความมีชีวิตชีวาและประวัติศาสตร์อันยาวนาน
สิ่งสำคัญในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าคือการศึกษาเส้นทางให้เข้าใจก่อน เพราะเส้นทางการให้บริการของรถไฟฟ้ามีหลายเส้นทางมาก (รถไฟทุกขบวนในเยอรมนีล้วนเป็นรถไฟฟ้า (ความกว้างของรางน่าจะ 1.2 หรือ 1.4 ม.) จุดหมายที่เราต้องการจะเยี่ยมเยือนอาจจะเปลี่ยนจากขบวนหนึ่งไปยังอีกขบวนหนึ่ง แต่ก็ใช่ว่าจะยากเย็นนักควรที่จะมีแผนที่การเดินรถในมือซึ่งเราสามารถขอได้ที่ สถานีที่เราใช้บริการ
แต่ละสถานีรถไฟจะไม่มีพนักงานขายตั๋วเหมือนบ้านเรา จะมีตู้จำหน่ายตั๋วไว้บริการ ดูจากรูปก็จะมีสองอย่าง ตู้สีเขียวจะเป็นตู้ที่ใช้บัตรพลาสติค (อาจจะบัตรเครดิตหรือบัตรที่ขอใช้บริการอื่นๆที่แสดงความจำนงค์ไว้ก่อน แล้วแต่กรณีไป) ในกรณีที่เราใช้เงินสดต้องใช้บริการตู้สีเขียว (ทุกๆสถานีจะอยู่ด้านซ้ายมือเมื่อเราหันหน้าเข้าหาตู้) ฝั่งขวาของตู้ (1) จะมีสารบัญซึ่งกำกับไว้ด้วยหมายเลขสถาณี ของแต่ละสถานี ตัวอย่างเช่นเราเริ่มจาก Geisenheim DB ถ้าเราจะต้องการที่จะไป Mainz หมายเลขสถานีของ Mainz คือ 65 สังเกตุตรงแป้นสีดำตัวเลขสีขาว (2) อยู่ที่แป้นที่สองจากด้านบนเราก็กด 65 ถัดลงมาก็จะมีปุ่มกด “ท่านเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่” (X) ก็กดตามที่ท่านเป็น จากนั้นที่จอด้านบนสุด (3) จะแจ้งค่าโดยสารให้ท่านทราบ อย่างเช่นไป Mainz 3.9 Euro ถ้ามีเหรียญก็ใส่ลงไปที่ช่อง (6) หรือถ้าเป็นแบงค์ก็ช่องหมายเลขห้า (5) ถ้าเราใส่เงินมากกว่าที่ค่าโดยสารที่เครื่องระบุ เงินทอนพร้อมด้วยตั๋วโดยสารก็จะออกมาที่ช่องด้านล่าง (7) ก็เป็นอันว่าเสร็จสิ้นกระบวนความ รอขึ้นรถไฟได้ (ถ้าเป็นสถานีย่อยชานชาลาจะมีที่เดียว) ในกรณีที่ท่านอยู่ที่สถาณีใหญ่ๆ ก็จะมีตารางเวลาแล้วก็เลขที่ชานชาลาที่ท่านจะต้องขึ้นรถให้ทราบ ท่านต้องอ่านให้ดีที่บอร์ดสีเหลือง (สีเดียวกัน) รถไฟจะออกทุกๆสามสิบนาที
เส้นทางที่เราจะเดินทางไปไมนซ์ ไม่มีรถไฟสายตรงจะต้องไปลงที่ Wiesbaden Hbf (วิชบาเด็น บานโฮฟ ) ใช้เวลาประมาณ 30 นาที ถ้าหากว่าเราต้องการที่จะเดินเที่ยวหรือแวะเยี่ยมชม Wiesbaden ก็สามารถทำได้เพราะว่าเกือบทุกเมืองที่ได้สัมผัสส่วนมากศูนย์กลางของเมืองจะไม่ห่างจาก DB มากนัก เราสามารถใช้ตั๋วใบเดิมเดินทางต่อได้เลยแม้จะเปลี่ยนกี่สถานี(แต่ในเส้นทางเดิมนะ) จาก Wiesbaden Hbf ถึง Mainz Hbf ใช้เวลาประมาณ 15 นาที ถ้าหากท่านต้องการทีจะเอาจักรยานขึ้นรถไฟไปด้วยก็สามารถที่จะทำได้ไม่ผิดกติกาแต่ประการใด ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ


Mainz Hbf สถาปัตยกรรมก็เป็นแบบฉบับของเยอรมันซึ่งดูแล้วบ่งบอกถึงแก่นแท้ รากเหง้าอันยาวนานของประวัติศาสตร์ที่เห็นได้ทั่วไปกระนั้นดูแล้วก็ไม่ได้รู้สึกถึงความขัดแย้งในความทันสมัยและลงตัวของระบบการจัดการภายในตัวสถานีเลยแม้แต่น้อย เป็นไปได้ว่าคนที่มีความรู้ด้านสถาปัตย์เขาทำงานด้วยความมุ่งมั่นกับสาขาอาชีพที่เขาได้เล่าเรียนศึกษามาอย่างเต็มที่ ไม่ได้เรียนเพื่อมาทำรายการจับฉ่ายในทีวีหรือทำละครเวทีเหมือนอย่างคนที่เรียนเรียนสถาปัตย์ในบ้านเรา (เรียนให้สิ้นเปลืองงบประมาณของรัฐทำไมว่ะ)
นักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมเยือนเมืองนี้ นับว่ามีมากมายทีเดียว แต่จะเป็นนักท่องเที่ยวแถวๆยุโรปซะส่วนมาก เพราะเหตุว่าช่วงเวลานี้ในเยอรมันมีความอบอุ่นพอสมควร แม้จะมีฝนพรำบ้างบางวันแต่ก็ไม่ใช่ปัญหาหรืออุปสรรคสักเท่าไหร่
Mainz ก่อตั้งเมื่อสามสิบกว่าปีก่อนคริสตกาล ในชื่อมากอนเทียคุม (ไม่ใช่เมียมาคุมนะ เป็นไปได้ว่าสามีเยอรมันมีภรรยาคนไทย แล้วกลับไปเยี่ยมบ้านภรรยา เพื่อนบ้านคงถามว่ามาจากไหน แกก็เลยบอกว่ามาจาก มากอนเทียคุม แต่การสื่อสารอาจสับสนเพราะเมียก็อยู่ข้างๆ เพื่อนชาวไทยคงได้ยินว่า “อ๋อ” เมียมาคุม..เมียมาคุม..ตาเทพเลยเอาไปร้องเป็นเพลง



หลังจากที่เสื่อมโทรมอยู่หลายร้อยปี อดีตเมืองหลวงแห่งรัฐ เยอร์มาเนียซูเพอริเออร์ ของชาวโรมันก็เริ่มเข้าสู่ยุคมั่งคั่ง ยาวนานในช่วงปี คส 747 เมื่อผู้เผยแผ่ศาสนาคริสต์ชาวเยอรมัน ตั้งเมืองนี้เป็นที่ประทัปของอาร์ชบิชอปจนกลายเป็นศูนย์กลางคริสตจักรของเยอรมนี




ไว้ติดตามตอนต่อไป….
ผมเองครับ….ชาติ
หลายวันผันผ่านในไกรเซ็นต์ไฮม์
20 กันยายน 2551

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น